Page 69 - คู่มือการรับสมัครนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2565
P. 69
68
สาขาวิชา วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัคร
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หรือเทียบเท่า หรือมีหลักฐานรับรองว่าสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท
หรือ เทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีรับรอง โดยมีแต้มคะแนน
เฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือเทียบเท่า
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือเป็นนักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตร
ปริญญาโทของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาอื่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีรับรอง
3. หลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาแล้ว หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาตามข้อ 1. หรือข้อ 2. ต้องเป็นหลักสูตรด้าน
วิศวกรรมศาสตร์อุตสาหกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาวิชา หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กัน
โดยจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
4. กรณียังไม่สำเร็จการศึกษา จะต้องมีหลักฐานรับรองว่า จะสำเร็จการศึกษาก่อนวันรายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็น
นักศึกษา
เอกสาร/รายละเอียดที่สาขาวิชาต้องใช้ในการพิจารณาคัดเลือก
1. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript) ในระดับปริญญาโท หรือหนังสือรับรองแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
สำหรับผู้ที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย
2. ใบปริญญาบัตรที่สำเร็จการศึกษา หรือหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันรายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็น
นักศึกษาในกรณียังไม่สำเร็จการศึกษา
3. สำเนาเอกสารผลการสอบภาษาอังกฤษ ตามประกาศสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เรื่องเกณฑ์การรับนักศึกษาเข้า
ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
วิธีการคัดเลือก
คัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา โดยพิจารณาจากผลการศึกษาตามวุฒิ
การศึกษาที่ใช้สมัคร ผลการสอบข้อเขียนและผลการสอบสัมภาษณ์
แผนการเรียน
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ เป็นหลักสูตรแบบสหวิทยาการที่เกิดจาก
ศาสตร์หลักสำคัญทางด้านวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโทรคมนาคม
้
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวของกับการผลิตระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ เพื่อ
มุ่งเน้นการนำความรู้และเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติไปใช้ในการทำงานจริงได้โดยตรง ดังนั้นจึงมีแผนการศึกษาให้เลือกได้
2 แบบคือ
1. แบบ 1 การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา
โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าศึกษาทำงานวิจัยและนำเสนอในรูปของวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา ภายใต้การดูแลของ
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ โดยมีจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์รวมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต สำหรับผู้เข้าศึกษาที่
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทก่อนเข้าศึกษาในหลักสูตร โดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือคณะกรรมการของ
สาขาวิชา อาจแนะนำให้ผู้เข้าศึกษาต้องศึกษางานรายวิชาบางวิชาที่อาจจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ของผู้เข้าศึกษาซึ่งเอื้อ