Page 78 - คู่มือการสมัครเข้าศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2568
P. 78
77
สาขาวิชา วิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์
หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัคร
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หรือเทียบเท่า หรือมีหลักฐานรับรองว่าสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี หรือเป็น
นักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาตรี หรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีรับรอง โดยมีแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า (ในกรณีที่มีแต้มคะแนนเฉลี่ย
สะสมต่ำกว่า 2.50 แต่มีประสบการณ์ทำงานจะพิจารณาเป็นรายๆไป)
2. หลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาแล้ว หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาตามข้อ 1. ต้องเป็นหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรม
ศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาวิชา หรือสาขาวิชาอื่น ๆ (มีประสบการณ์ทำงาน) โดยจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
3. กรณียังไม่สำเร็จการศึกษา จะต้องมีหลักฐานรับรองว่า จะสำเร็จการศึกษาก่อนวันรายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
เอกสาร/รายละเอียดที่สาขาวิชาต้องใช้ในการพิจารณาคัดเลือก
1. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcipt) ในระดับปริญญาตรี หรือหนังสือรับรองแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม สำหรับผู้ที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย
2. ใบปริญญาบัตรที่สำเร็จการศึกษา หรือหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันรายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใน
กรณียังไม่สำเร็จการศึกษา
วิธีการคัดเลือก Enter ลงบรรทัดใหม่
คัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา โดยพิจารณาจากผลการศึกษาตามวุฒิการศึกษาที่ใช ้
สมัคร ผลการสอบข้อเขียนและผลการสอบสัมภาษณ์
แผนการเรียน Enter ลงบรรทัดใหม่
หลักสูตรมหาบัณฑิตของสาขาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ เป็นหลักสูตรแบบสหวิทยาการทั้งด้าน
วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมการจัดการ วิศวกรรมการผลิต
วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ วิศวกรรมระบบ เพื่อมุ่งเน้นความเข้าใจด้านอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ตั้งแต่การวางแผน การ
ดำเนินการการควบคุมคุณภาพและการปรับปรุง อย่างครบวงจรและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้ ดังนั้นจึงมี
แผนการศึกษาให้เลือกได้ 3 แบบคือ
1. แผน ก แบบ ก(1) การวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ โดยไม่ต้องเรียนรายวิชา โดยมุ่งเน้นการวิจัยและวิทยานิพนธ์ล้วน ภายใต้การ
่
ดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกวา 45 หน่วยกิต แต่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์อาจแนะนำให้
เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมวิชาการเพิ่มเติมที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบไม่ได้น้อยกว่า 45
หน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกำหนด ระยะเวลาการศึกษาตามแผนการศึกษารวม 2 ปี
การศึกษา
2. แผน ก แบบ ก(2) เรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ เป็นแผนการเรียนที่เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วยการศึกษารายวิชา
และการทำวิทยานิพนธ์ จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาตามหลักสูตรไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 15
หน่วยกิต ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาตามแผนการศึกษา รวม 2 ปีการศึกษา
3. แผน ข เน้นการศึกษารายวิชา โดยไม่มีการทำวิทยานิพนธ์ เป็นแผนการศึกษาที่มุ่งเน้นการศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้องรวมกัน
่
กับการทำโครงงานมหาบัณฑิตในแขนงวิชาเอกที่นักศึกษาสนใจ นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาไม่น้อยกวา 39 หน่วย