Page 44 - คู่มือการสมัครเข้าศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา '67
P. 44

43

               สาขาวิชา       เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ
               หลักสูตร       ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ)

               คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร
                 1.  เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือมีหลักฐานรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หรือเทียบเท่า
                    จากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีรับรอง หรือ
                 2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีเกียรตินิยม หรือเทียบเท่า หรือเป็นนักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญา
                   ตรีของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีรับรอง  โดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่
                   ต่ำกว่า 3.25  หรือเทียบเท่า
                 3. สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ตามข้อ 1. หรือ 2 ต้องเป็นสาขาวิชาเกษตรศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ประมง
                   วาริชศาสตร์ เทคโนโลยีทางทะเล เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือเทียบเท่า
                 4. สำหรับผู้ที่สมัครในแบบ 1 ที่เน้นเฉพาะการทำวิจัย จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทที่มีการทำวิทยานิพนธ์ และมี
                   ประสบการณ์การทำวิจัยในสายงาน โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารวิชาการที่สาขาวิชายอมรับ
                 5. กรณีที่ยังไม่สำเร็จการศึกษา จะต้องมีหลักฐานรับรองว่า จะสำเร็จการศึกษาก่อนวันรายงานตัว ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
                 6.  มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
               เอกสาร/รายละเอียดที่สาขาวิชาต้องใช้ในการพิจารณาคัดเลือก
                 1.  หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript) ในระดับปริญญาตรี
                    หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript) ในระดับปริญญาตรีและโท (สำหรับผู้จบปริญญาโทแล้ว)
                 2. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจากผู้บังคับบัญชา และหนังสือรับรอง (Recommendation) จากอาจารย์ที่ปรึกษา
                   หรืออาจารย์ผู้สอน  อย่างละ 1 ฉบับ (สำหรับผู้ที่ใช้ประสบการณ์การทำงานในการสมัคร)
                 3. หนังสือรับรอง (Recommendation) จากอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ฉบับ และจากอาจารย์ผู้สอน 1 ฉบับ (สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช ้
                   ประสบการณ์การทำงานในการสมัคร)
                 4.  มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
               วิธีการคัดเลือก
                   นักศึกษาต้องเตรียมโครงร่างงานวิจัยนำเสนอในรูปแบบ Power Point ต่อคณะกรรมการสอบฯ ประมาณ 10 นาที พร้อม
                   สำเนาตัวโครงร่างงานวิจัยแจกคณะกรรมการสอบ ใช้วิธีคัดเลือกและสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาระดับ
                   บัณฑิตศึกษาโดยพิจารณาจากผลการศึกษาตามวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัคร ประสบการณ์และประวัติการทำงาน และผลการสอบ
                   สัมภาษณ์
               หมายเหตุ  หลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ มีแผนการศึกษาให้เลือก 2 แบบ คือ
                 (1) แบบ 1
                    เนื้อหาของหลักสูตร ได้แก่ การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา แต่สาขาวิชาอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาหรือ
                    ทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นโดยไม่นับหน่วยกิตด้วยก็ได้ โดยต้องได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด วิทยานิพนธ์ต้องมีค่าเทียบได้ไม่
                    น้อยกว่า 64 หน่วยกิต  สำหรับผู้จบการศึกษาขั้นปริญญาโทแล้ว
                 (2)  แบบ 2
                   - เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วยการศึกษารายวิชา และการทำวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ผู้ที่ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาตรีต้องที่
                    มีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ทั้งนี้จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
                    ต้องไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต
                   - เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วยการศึกษารายวิชา และการทำวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ผู้ที่ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาโทต้องที่
                    มีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 46 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต ทั้งนี้จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
                    ต้องไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต
                 (3) ใช้ภาษาอังกฤษในการนำเสนอวิชาสัมมนา การเขียนและการสอบวิทยานิพนธ์
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49